วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 10 เรื่อง รูปแบบของคำสั่ง HTML

รูปแบบของคำสั่ง HTML 
คำสั่งพื้นฐาน
< !– ข้อความ –>คำสั่ง หมายเหตุ ใช้อธิบายความหมาย ขื่อผู้เขียนโปรแกรม และอื่นๆ
<br>คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่
<p> ข้อความ </p>คำสั่งย่อหน้าใหม่
<hr width=”50%” size = “3”>คำสั่ง ตีเส้น, กำหนดขนาดเส้น
&nbsp;คำสั่ง เพิ่มช่องว่าง
<IMG SRC = “PHOTO.GIF”>คำสั่งแสดงรูปภาพชื่อ Photo.gif
<CENTER> ข้อความ </CENTER>คำสั่งจัดให้ข้อความอยู่กึ่งกลาง
<HTML> </HTML>คำสั่ง <HTML> คือคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม HTML และมีคำสั่ง </HTML> เพื่อบอกจุดสิ้นสุดโปรแกรม
<HEAD> </HEAD>คำสั่ง <HEAD> คือคำสั่งบอกส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง โดยมีคำสั่งย่อย <TITLE> อยู่ภายใน
<TITLE> </TITLE>คำสั่ง <TITLE> คือคำสั่งบอกชื่อเรื่อง จะไปปรากฏที่ Title Bar
<BODY> </BODY>คำสั่ง <BODY> คือคำสั่งบอกส่วนเนื้อเรื่อง ที่จะถูกแสดงผลในเวปบราวเซอร์ ประกอบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร ตาราง เป็นต้น
รูปแบบตัวอักษร
<font size = “3”> ข้อความ </font>ขนาดตัวอักษร
<font color = “red”> ข้อความ </font>สีตัวอักษร
<font face = “Arial”> ข้อความ </font>รูปแบบตัวอักษร
<besefont size = “2”> ข้อความ </font>กำหนดค่าเริ่มต้นของขนาดตัวอักษร
<b> ข้อความ </b>ตัวอักษรหนา
<i> ข้อความ </i>ตัวอักษรเอน
<u> ข้อความ </u>ขีดเส้นใต้ตัวอักษร
<tt> ข้อความ </tt>ตัวอักษรแบบพิมพ์ดีด







หมายเหตุ เราสามารถใช้คำสั่งกำหนดรูปแบบตัวอักษร หลายๆรูปแบบได้ เช่น
<font face = “Arial” size = “3” color = “red”> ข้อความ </font> เป็นต้น



ตัวอย่างคำสั่ง


1.<br>
คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่

2.<HTML> </HTML>
คำสั่ง <HTML> คือคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม HTML                               และมีคำสั่ง </HTML> เพื่อบอกจุดสิ้นสุดโปรแกรม
3.<TITLE> </TITLE>คำสั่ง <TITLE> คือคำสั่งบอกชื่อเรื่อง จะไปปรากฏที่ Title                                  Bar
4.<BODY> </BODY>
คำสั่ง <BODY> คือคำสั่งบอกส่วนเนื้อเรื่อง ที่จะถูกแสดงผล                                 ในเวปบราวเซอร์ ประกอบด้วยรูปภาพ ตัวอักษร ตาราง เป็นต้น
5.<HEAD> </HEAD>
คำสั่ง <HEAD> คือคำสั่งบอกส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง โดยมีคำสั่งย่อย <TITLE> อยู่ภายใน

 

ใบงานที่ 9 เรื่อง ความหมายของ HTML


HTML
ความหมายของ HTML หมายถึง เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tagอาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วย

HTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย 




วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 7 เรื่อง การเขียนแผนผัง (Flowchart)

การเขียนแผนผัง

ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีหลักการหรือขั้นตอนที่สาคัญทั้งหมด 5 ขั้นตอนได้แก่

                             1. การวิเคราะห์ปัญหา
                             2. การออกแบบโปรแกรม 
                             3. การเขียนโปรแกรม 
                             4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม 
                             5.ทำเอกสารประกอบโปรแกรม
            ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเขียนโปรแกรมในขั้นตอนที่ 3 หลังจากทาการวิเคราะห์ปัญหาแล้ว จะต้องมีการออกแบบโปรแกรมเพื่อเป็นการวางแผนการทางานก่อน ผังงาน Flowchart เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้อธิบายลาดับขั้นตอนการทางานในรูปแบบแผนภาพ โดยใช้สัญลักษณ์รูปร่างต่าง ๆ ที่มีความหมายแทนคาสั่ง และใช้ข้อความในสัญลักษณ์แทนข้อมูลตัวแปร ตัวดาเนินการทางการคานวณ และการเปรียบเทียบ นอกจากนั้นผังงานยังใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนการทางานต่าง ๆ โดยสามารถแบ่งลักษณะการทางานและความสัมพันธ์เป็นรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การทางานแบบมีลาดับ การทางานแบบมีเงื่อนไข และการทางานแบบทาซ้าภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนาผังงาน Flowchart ที่ออกแบบไว้นาไปเขียนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ดังนั้นผังงานจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมและผู้ใช้ สามารถ
มองเห็นภาพการทางานของโปรแกรมที่กาลังจะสร้างได้อย่างเป็นระบบและง่ายขึ้น
ลัญลักษณ์ของผังงาน


ใบงานที่ 6 เรื่อง การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Coad)


รหัสจำลอง   หรือ
 Pseudo Code  เป็นคำบรรยายที่เขียนแสดงขั้นตอนวิธี(algorithm) ของการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัด สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโปรแกรม โดยอาจใช้ภาษาที่ใช้ทั่วไปและอาจมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประกอบ แต่ไม่มีมาตรฐานแน่นอนในการเขียน pseudo code  และไม่สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์โดยตรง(เพราะไม่ใช่คำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์) และไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง

                        นิยมใช้ pseudo code แสดง algorithmมากกว่าใช้ผังงาน เพราะผังงานอาจไม่แสดงรายละเอียดมากนักและใช้สัญลักษณ์ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเขียน เช่นโปรแกรมใหญ่ ๆ มักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจริงๆ เช่น begin…end, if…else, do…while, while, for, read และ print
                        การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลต่างๆที่จะใช้ในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) แทนการกำหนดค่าให้กำหนดตัวแปรนั้นๆ

ใบงานที่ 5 เรื่อง อัลกอริทึม (Agorithm)


    1) อัลกอริทึม (Algorithm) หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร  กระบวนการนี้ประกอบด้วยจะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซำอีก จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน 

    Algorithm ไม่ใช่คำตอบแต่เป็นชุดคำสั่งที่ทำให้ได้คำตอบ วิธีการในการอธิบาย Algorithm ได้แก่
1. Natural Language อธิบายแบบใช้ภาษาที่เราสื่อสารกันทั่วไป
2.Pseudocode อธิบายด้วยรหัสจำลองหรือรหัสเทียม
3.Flowchart อธิบายด้วยแผนผัง

    2) ลักษณะของ อัลกอริทึม 
คือ แนวทางการเขียนอัลกอริทึมเป็นลักษณะการทำงานขั้นพื้นฐาน มักปรากฏในระบบงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป มีแนวทางที่ใช้บ่อย ๆ ดังนี้     
-การทำงานลักษณะการนับค่าสะสมในหน่วยความจำ 
-การทำงานลักษณะวนรอบการทำงาน       
-การทำงานลักษณะหาค่ามากที่สุด และค่าน้อยที่สุด




วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 4 เรื่อง การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบและปรับปรุง


1.การตรวงสอบและปรับปรุงโดยผู้ออกแบบ

2.การตรวจสอบโดยผู้ใช้งานจริง

ใบงานที่ 3 เรื่อง การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอน


1.เลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา : การกำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา
2.การออกแบบขั้นตอนในการปฏิบัติงาน : เป็นการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาก่อนปฎิบัติจริง โดยจะต้องกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานเป็นลำดับขั้น แล้วจึงนำมาระบุผู้รับผิดชอบและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ในตารางปฏิบิติงาน

ใบงานที่ 2 เรื่อง การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา


มีวิธีการดังนี้
1.วิเคราะห์สิ่งที่ต้องการโดยวิเคราะห์ว่าต้องการแก้ปัญหาอะไร ผลผลิตอะไร หรืองานอะไร แล้วกำหนด      วัตถุประสงค์ของสิ่งที่ต้องการนั้น
   ตัวอย่าง ต้องการแก้ปัญหาการขาดทุนของร้านเช่าหนังสือ
2.วิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยวิเคราะห์สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการแก้ปัญหาที่ต้องการมากกว่า 1 ข้อ    เช่นมีการสะดวกรวดเร็วในการเช่าหนังสือ ป้องกันไม่ให้หนังสือหาย มีกำไรมากยิ่งขึ้น
3.วิเคราะห์ทรัพยากรโดยคำนึงถึงทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาซึ่งควรเป็นทรัพยากรที่    มีอยู่แล้วเป็นหลัก ช่น วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ของบุคลากร แรงงาน และงบประมาณ
4.วิเคราะห์ตัวแปรหรือผลกระทบในด้านต่างๆ
5.วิเคราะห์วิธีการในการแก้ปัญหา


วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ:ธนวรรธน์  ลิ้มสมุทรชัยกุล
ชื่อเล่น: นนท์
วัน-เดือน-ปี เกิด : 25 กันยายน พ.ศ.2543
อายุ: 16 ปี
เบอร์โทรศัพท์: 096-460-3397
ที่อยู่ : 21 ซ.เกาะพรวด ถ.จันทอุดม ต.เชิงเนิน อ.เมือง 
จ.ระยอง 21000
อีเมลล์: nonzaza514@gmail.com
Facebook: Non Thanawat
งานอดิเรก : Cover-Dance
โรงเรียน : อัสสัมชัญระยอง




ใบงานที่ 1 เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ


กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ




1.ความหมายของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง

    ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพธ์ระบบเทคโนโลยีประกอบด้วยกระบวนการเทคโนโลยีก่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์  เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว.



2.ขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอะไรบ้าง
กระบวนการเทคโลยีสารสนเทศมี6ขั้นตอน1.การรวบรวมข้อมูล   วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวลผล เช่น บันทึกในแฟ้ม   เอกสาร  บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึกไว้ในสมุด  เป็นต้น 2.การตรวจสอบข้อมูล   ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การตรวจสอบ เพื่อหาข้อผิดพลาด  ความน่าเชื่อถือ  ความสมเหตุสมผล  เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและบันทึกไว้อย่างถูกต้อง3.การประมวลผลข้อมูล   หมายถึง วิธีการดำเนินการกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ   ข้อมูล การประมวลผลสารสนเทศข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  ที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นความจริง  สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน4.การจัดเก็บข้อมูล         การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร โดยเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ5.การประมวลผลข้อมูล  ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อสรุปความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศให้ตรงสภาพที่เป็นจริงตรงตามวัตถุประสงค์ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้6.การนำข้อมูลไปใช้    การนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะต่างๆ
3.การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1)  การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา  (State The Problem)ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรกสุดก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหาแต่ผู้แก้ปัญหามักจะมองข้ามไปจุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร อีกทั้งวิธีการที่ใช้ประมวลผลกล่าวโดยสรุปมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ดังนี้         การระบุข้อมูลเข้าได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่กำหนดมาในปัญหา          การระบุข้อมูลออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ        การกำหนดวิธีประมวลผลได้แก่ การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งคำตอบหรือข้อมูลออก  

2) การเลือกเครื่องมือและออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools And Algorithm Development)ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน          หลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่และสิ่งที่ต้องการหาในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วนหลังจากที่เราทำความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาเงื่อนไขและข้อมูลที่มีอยู่และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ 1แล้วเราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหาขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลักหากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาทำนองนี้มาแล้วก็สามารถดำเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา


3) การดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation)  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เลือกไว้                 การแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จหรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมแก้ ปัญหาขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจและเชี่ยวชาญ ในขณะดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้

4) การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement)หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้วต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า                 วิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องโดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้าและข้อมูลออกเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ทุกกรณีอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

             


สอบปลายภาคเรียน

สอบปลายภาคเรียน from NonThanawat